วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พันตำรวจเอก(พิเศษ) กับพันตำรวจเอก ต่างกันตรงไหน (๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓)

สวัสดีครับ พ.ต.ท.สุพจน์ มัจฉา มารายงานตัวเข้าเวรรับใช้พี่น้องครับผม

วันนี้วันพฤหัสบดี ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ วันทำงานสำหรับพี่น้องส่วนใหญ่แต่ตำรวจเราก็อย่างที่เคยบอกนั่นแหละทำงานทุกวัน วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ จันทร์...พวกเราทำงานกันโดยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนหน้าที่เพื่อให้บริการพี่น้องด้วยความเต็มใจตลอด ๒๔ ชั่วโมงใน ๑ วัน ๗ วันใน ๑ สัปดาห์ ๕๒ สัปดาห์ใน ๑ ปีครับ มีอะไรจะให้ตำรวจช่วยเหลือบอกได้เลยไม่ต้องเกรงใจ

เย็นนี้ผมขอนำเรื่องราวที่เกี่ยวกับตำรวจมาฝากกันเหมือนเดิมตามที่เคยสัญญาไว้ แต่อย่างที่บอกแหละครับว่าเรื่องราวของตำรวจนั้นแม้เพียงแค่เรื่องยศหรือเครื่องแบบก็สามารถนำมาเขียนบอกเล่าได้เป็นปีเลยทีเดียว เยอะมากครับ ดังนั้นเพื่อมิให้ยืดยาวเกินไปก็จะเขียนเป็นตอนๆ ตามที่คิดได้หรือมีผู้อยากรู้ โดยเรื่องในเย็นนี้จะเฉลยให้ผู้ที่ยังไม่รู้ได้รู้ว่าระหว่างตำรวจที่มียศพันตำรวจ(พิเศษ) (หรือคำอย่างเป็นทางการคือพันตำรวจเอกซึ่งได้รับเงินเดือนในอัตราพันตำรวจเอก(พิเศษ)) ซึ่งมีตำแหน่ง "รองผู้บังคับการ" กับพันตำรวจธรรมดาซึ่งมีตำแหน่ง "ผู้กำกับการ" นั้นจะดูตรงไหนถึงจะรู้ว่าใครเป็นใคร เพราะสองยศนี้ติดเครื่องหมายบนบ่าเหมือนกันทุกอย่างคือ

หลายท่านสับสนซึ่งก็น่าจะใช่ แต่ต่อไปท่านจะไม่สับสนอีกแล้ว มองปั๊บจะรู้ได้ทันทีเลยว่าใครยศไหน ตำแหน่งไหน ตามผมมาเลยครับ แอ่นแอ๊น...

ท่านที่รักครับ เรื่องนี้มีกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบตำรวจซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติตำรวจกำหนดระเบียบการแต่งกายไว้โดยระเบียบนั้นครอบคลุมครบถ้วนทุกอย่างตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าเลยทีเดียว ทั้งนี้ก็เพื่อให้การแต่งกายเป็นไปในแนวทางเดียวกันนั่นเอง ส่วนหนึ่งของระเบียบก็คือการติดเครื่องหมาย และสำหรับเครื่องหมายที่ผมจะพูดให้ฟังช่วงแรกนี้จะเป็นเครื่องหมายที่ติดที่คอเสื้อเครื่องแบบตำรวจเราท่านจะสังเกตเห็นว่าเวลาตำรวจแต่งเครื่องแบบนั้นที่คอเสื้อจะมีส่วนประกอบที่เป็นโลหะสีเงินติดไว้ทั้งสองข้างข้างขวาเขาเรียกว่า "เครื่องหมายแสดงจำพวก" ส่วนข้างซ้ายเรียกว่า "เครื่องหมายแสดงสังกัด" อย่าเพิ่งงงครับ ผมขออธิบายประกอบความเข้าใจสั้นๆ ดังนี้ (สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องหมายแสดงทั้งสองประเภทนี้ผมจะเขียนอธิบายให้ทราบภายหลัง)

- เครื่องหมายแสดงจำพวก หมายถึงตำรวจคนนั้นสังกัดหน่วยงานระดับกองบัญชาการ (หรือสูงกว่า) หน่วยงานไหน เช่น สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล,กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน,ตำรวจภูธรภาค ต่างๆ,กองบัญชาการสอบสวนกลาง แต่ละหน่วยจะมีอักษรย่อของตนเองไม่ซ้ำกัน เช่น นครบาลใช้อักษรย่อ สอบสอบสวนกลาง ใช้ ตำรวจภูธรภาคต่าง ๆ (ซึ่งมีฐานะเป็นกองบัญชาการ) ก็จะใช้ ตามด้วยเลขของตำรวจภูธรภาคนั้นๆ เช่น ภ๑ ภ๒ ภ๕ เป็นต้น

- เครื่องหมายแสดงสังกัด หมายถึงหน่วยงานย่อยในกองบัญชาการหรือสูงกว่าที่ตำรวจคนนั้นสังกัดอยู่ เช่น ผมสังกัดอยู่ตำรวจภูธรภาค ๕ ที่คอเสื้อด้านขวาของผมจะเป็นอักษรย่อคำว่า ภ๕ แต่ขณะเดียวกันผมรับราชการประจำอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรพานซึ่งอยู่ในจังหวัดเชียงรายซึ่งมีอักษรย่อของเครื่องหมายแสดงสังกัดเป็น ชร ผมก็จะติดเครื่องหมายนี้ที่ปกคอเสื้อด้านซ้ายครับ หน่วยอื่นๆ ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน

เครื่องหมายทั้งสองประเภทนี้ทำด้วยโลหะสีเงินรูปกนกสีเหลี่ยมรีดังภาพด้านล่าง (ส่วนใหญ่ตำรวจเราจะเรียกว่า "กนกคอ")

แต่เครื่องหมายแบบที่ผมนำมาแสดงด้านบนนี้จะใช้เฉพาะตำรวจที่มียศพันตำรวจเอก (ธรรมดา) ที่มีตำแหน่งเป็น "ผู้กำกับการ" ลงมาเท่านั้นครับ

ที่นี้ก็คงจะเริ่มเข้าใจแล้วใช่ไหมครับว่า อ้อ พันตำรวจเอก(พิเศษ) มียศสูงกว่าพันตำรวจเอก (ธรรมดา) และระเบียบตำรวจกำหนดให้ติดกนกคอ (ผมขอใช้คำพูดที่ตำรวจเราเรียกกันนะครับเพราะเข้าใจง่ายดี) แบบที่ว่านี้เฉพาะพันตำรวจเอกลงมา เพราะฉะนั้นตำรวจที่มียศพันตำรวจเอก(พิเศษ) ก็จะไม่ติดกนกคอแบบนี้ ถูกต้องแล้ว แต่!!! คำถามก็คือ...แล้วเขาติดกนกคอแบบไหนอยากรู้ใช่ไหมล่ะ อ้า ชักสนใจแล้วซิ่เนี่ย

เรื่องนี้เรามีระเบียบเรื่องการแต่งกายกำหนดไว้เพิ่มเติมว่าสำหรับตำรวจที่มียศพันตำรวจเอก(พิเศษ) ขึ้นไปซึ่งก็คือถึงพลตำรวจเอกนั้นการติดกนกคอให้ติดเครื่องหมายเป็นรูปโล่เขนทำด้วยโลหะสีเงิน ภายนอกรูปลายโล่เขนมีลายช่อชัยพฤกษ์ที่คอเสื้อทั้งสองด้าน กนกที่พูดถึงเป็นแบบภาพด้านล่างนี้ครับ

คงเข้าใจกันแล้วนะครับในเรื่องที่เขียนข้างต้น แต่เพื่อความกระจ่างอีกนิดผมขออนุญาตนำภาพนายตำรวจ ๒ ท่านซึ่งบนบ่าติดยศพันตำรวจเอกเหมือนกันมาให้ท่านดู ดูแล้วลองตอบตัวเองก่อนที่จะดูเฉลยนะครับว่าคนไหนคือพันตำรวจเอก(พิเศษ) ส่วนคนไหนคือพันตำรวจเอก(ธรรมดา)

ถูกต้องครับ ท่านตอบได้ถูกต้องตรงเผงเลย คนซ้ายมือคือพันตำรวจเอก(ธรรมดา) ส่วนขวามือคือพันตำรวจเอก(พิเศษ) ขอปรบมือให้ดังๆ ซะหน่อย (ทั้งสองคนนี้เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นพี่ของผมครับ)

ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วพูดเรื่องนี้กันต่ออีกซักนิดนั่นก็คือหมวกของตำรวจเรา แต่ก็เหมือนเดิมนั่นแหละรายละเอียดมันเยอะวันนี้จึงขอพูดในส่วนที่ให้ท่านนำไปเป็นหลักสังเกตว่าตำรวจคนไหนในเวลาสวมหมวกน่ะใครเป็นนายพล,นายพัน หรือยศอื่นๆ และเรื่องหมวกนี้จะพูดเฉพาะบริเวณหน้าหมวกน่ะครับซึ่งท่านจะสังเกตเห็นว่ามี อยู่ ๓ ประเภทด้วยกันคือ
๑. เป็นหน้าหมวกธรรมดาๆ ไม่มีอะไรติดอยู่
๒. มีช่อชัยพฤกษ์ ๑ ช่อ
๓. มีช่อชัยพฤกษ์ ๒ ช่อ
เอ้อ แล้วคนที่ไม่มีช่อ,มี ๑ ช่อ , ๒ ช่อ เป็นใครกันล่ะ เฉลยครับ

๑. ผู้มียศพลตำรวจเอก,พลตำรวจโท,พลตำรวจตรี ที่หน้าหมวกจะมีช่อชัยพฤกษ์ ๒ ช่อ

๒. ผู้มียศพันตำรวจเอก(พิเศษ) และพันตำรวจเอก ที่หน้าหมวกจะมีช่อชัยพฤกษ์ ๑ ช่อ


๓. ยศนอกเหนือจากนี้เป็นหน้าหมวกธรรมดา

ข้อเขียนเย็นนี้หวังว่าคงจะเกิดประโยชน์ต่อท่านอยู่บ้างตามสมควรนะครับและอย่าลืมเข้ามาเยี่ยมเยียนผมบ่อยๆ ด้วยก็แล้วกันรับรองว่าท่านจะได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับตำรวจมากขึ้นเลยทีเดียว

รักตำรวจ เกลียดตำรวจ มีปัญหาอย่าลืมเรียกใช้ตำรวจนะครับ

สวัสดีครับผม

7 ความคิดเห็น:

  1. อยาเห็นชุดร้อยตำรวจเอกหญิงของกองปราบมากๆเลยค่ะ
    อยากรู้ว่าเค้าติดเครื่องหมายอะไรบ้าง คงเท่มากๆเลยค่ะ
    พอจะมีตัวอย่างแบบชัดๆให้รับชมไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ
    อยากรู้ว่า ตำรวจหญิงนี้เครื่องแบบมีกี่แบบคะ อยากเห็นมากๆค่ะ
    ชุดของตำรวจกองปราบปรามหญิง ค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ17 พฤษภาคม 2554 เวลา 01:36

    แต่ทำไมพันตำรวจเอก(พิเศษ)อุดม พิบูลย์สวัสดิ์ อดีตรองผู้บังคับการกองตำรวจดับเพลิง และประธานกรรมการมูลนิธิอาสาบรรเทาภัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ... บ่าอินทรธนูข้างขวาประดับ เครื่องหมาย ภปร. และข้างซ้ายประดับ ยศ พ.ต.อ. อ่ะครับ ผมงง?

    ตอบลบ
  3. เยี่ยมมากครับท่าน

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ27 ตุลาคม 2554 เวลา 12:01

    ท่านครับ..กรูณาลงคำย่อกนกคอหน่วยงานใน สตช.ส่วนกลางให้ทราบด้วยผมเป็นตำรวจใหม่สาย อก กำลังฝึกอบรมอยู่ ตาม ศฝร.ต่างๆ ..พวกกระผมและดิฉันรอคำตอบจากท่าน ..ขอบพระคูณครับ..

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ8 เมษายน 2559 เวลา 23:54

    ผมมองหน้าคอมตอนนี้ซ้ายมือคือพันตำรวจเอกพิเศษ ดูจากกนกคอ เป็นโล่ห์เขนมีช่อ ตำแหน่งเป็น รอง ผบก. ส่วนด้านขาวกนกคอธรรมดามีหน่วยงานสักกัด ตำแหน่ง ผกก. ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช่ครับ ท่านพิมพ์สลับกัน

      ลบ