วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตรวจการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ประจำสถานี (๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๓)

วันนี้เวลาประมาณ ๑๔.๓๐ น.ผมตรวจการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่เวรยามประจำสถานีโดยการตรวจครั้งนี้พบ

๑. ด.ต.ประยูร สร้อยคำ ปฏิบัติ
หน้าที่เจ้าหน้าที่ประจำวัน



๒. ด.ต.วงศากร ปันสุพฤกษ์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยพนักงานสอบสวน

๓. ด.ต.พาผล สำเนียงล้ำ ปฏิบัติหน้าที่สิบเวร






เจ้าหน้าที่รายงานเหตุการณ์ทั่วไปปกติโดยพบว่าเจ้าหน้าที่ทั้งหมดแต่งกายในเครื่องแบบถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดไว้และพร้อมให้การบริการพี่น้องประชาชนได้อย่างแท้จริง


ในส่วนการตรวจการปฏิบัติของเจ้าที่สิบเวรนั้นได้ร่วมกันตรวจห้องควบคุมผู้ต้องหาพบว่าอยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง ไม่มีสิ่งของผิดกฎหมายหรือระเบียบอยู่ภายในและวันนี้ไม่มีผู้ต้องหาอยู่ในห้องควบคุม ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดโดยยึดระเบียบที่กำหนดไว้เป็นสำคัญ หากมีสิ่งใดเกิดขึ้นขณะปฏิบัติหน้าที่ให้รีบรายงานให้ทราบทันที




เจ้าหน้าที่รับทราบ

อนึ่ง เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการควบคุมตัวผู้ต้องหาที่สถานีตำรวจนั้นผมขอนำระเบียบการที่เกี่ยวข้องของตำรวจเรามาแจ้งให้ทราบไว้ในวันนี้ด้วยเลยนะครับว่าการควบคุมนั้นระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๔ บทที่ ๑๒ เรื่องการควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับไว้ที่สถานีตำรวจสรุปสาระสำคัญว่า


การควบคุมตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ปกติให้ควบคุมไว้ในห้องควบคุมของสถานีตำรวจหรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน แต่หากผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีจำนวนมาก ไม่สามารถจะนำตัวเข้าควบคุมในห้องควบคุมได้ทั้งหมด หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น เช่น ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาเป็นหญิงเด็ก หรือเยาวชน และไม่มีห้องควบคุมซึ่งจัดไว้โดยเฉพาะเป็นต้น ให้หัวหน้าสถานีตำรวจหรือหัวหน้าหน่วยงานผู้รับผิดชอบแห่งนั้นจัดสถานที่ควบคุมขึ้นพิเศษเป็นการเฉพาะคราวได้


เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะดวกต่อการตรวจสอบให้สถานีตำรวจหรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาทุกแห่งจัดทำสมุดควบคุมผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาขึ้น โดยใช้สมุดเบอร์ จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาตามแบบท้ายระเบียบทุกๆ ครั้ง เมื่อมีการเปลี่ยนเวรรับมอบหน้าที่สิบเวรในวันนั้นให้ลงชื่อรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาให้ถูกต้อง การควบคุมในสถานที่ซึ่งทำไว้สำหรับควบคุมโดยตรง เมื่อได้ควบคุมอยู่ในสถานที่นั้นแล้วจะใช้เครื่องพันธนาการอื่นใดแก่ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาอีกไม่ได้เว้นแต่มีเหตุจำเป็น


\เมื่อจะนำตัวผู้ใดเข้าห้องควบคุมต้องตรวจค้นตัวผู้จะถูกควบคุมก่อน เพื่อมิให้มีสิ่งของใดๆ อันอาจใช้ในการกระทำอันตรายตนเองหรือผู้อื่น ตลอดจนมิให้มีสิ่งของเหล่านี้อยู่ตามตัวหรือนำเข้าไปในห้องควบคุม เช่น

(๑) ยาพิษ
(๒) ยาเสพติดให้โทษ
(๓) เครื่องดองของเมา
(๔) เครื่องมือการพนัน
(๕) สรรพสิ่งซึ่งเป็นเชื้อเพลิง
(๖) ธนบัตร ทรัพย์สิน หรือสิ่งของอันมีค่าอื่นๆ
() อาวุธ สิ่งซึ่งอาจใช้เป็นอาวุธ หรือเครื่องมือที่ใช้เจาะ งัด ตัด ได้หากมีเงินทองหรืออาวุธ หรือสิ่งของใดๆ ดังกล่าวแล้ว ให้ยึดหรือเก็บรักษาไว้ตามระเบียบที่ทางราชการกำหนดและห้ามมิให้มีสิ่งของอย่างหนึ่งอย่างใด อยู่ในห้องควบคุม เว้นแต่เครื่องนุ่งห่มตามสมควรแก่อัตภาพเท่านั้น

นอกจากนี้ห้ามมิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหานำเด็กเข้าไปในห้องควบคุม หากไม่สามารถแยกเด็กออกจากผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาได้ ให้หัวหน้าสถานีตำรวจหรือหัวหน้าหน่วยงานผู้รับผิดชอบแห่งนั้นจัดสถานที่ควบคุมขึ้นพิเศษเป็นการเฉพาะคราวได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น