วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ร่วมสังเกตการณ์การประกวดการฝึกประจำปี ๒๕๕๓ ของตำรวจภูธรภาค ๕ (๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓)

ตำรวจภูธรจังหวัด (ภ.จว.) เชียงรายได้จัดให้มีการประกวดการฝึกประจำปี ๒๕๕๓ โดยให้สถานีตำรวจ (สภ.) แต่ละแห่งทำการฝึกตามหัวข้อที่กำหนดและออกทำการตรวจสอบการฝึกระหว่างวันที่ ๒๑-๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ ซึ่งผลการประกวดการฝึก สภ.ที่ชนะเลิศของแต่ละกลุ่มมีดังนี้
๑. สภ.ที่มี ผกก.เป็นหัวหน้าได้แก่ สภ.แม่สาย
๒. สภ.ที่มี สวญ.เป็นหัวหน้าได้แก่ สภ.เกาะช้าง
๓. สภ.ที่มี สว.เป็นหัวหน้าได้แก่ สภ.บุญเรือง
สำหรับ สภ.ที่ชนะเลิศของแต่ละ ภ.จว. ตำรวจภูธรภาค ๕ (ภ.๕) จะออกทดสอบการฝึกและประกวดการฝึกในภาพรวมของ ภ.๕ อีกครั้งหนึ่งเพื่อพิจารณาและประกาศผลการฝึกต่อไป

ในส่วนของ ภ.จว.เชียงราย ภ.๕ กำหนดออกทดสอบและประกวดการฝึกในวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ณ สนามฝึกมูลนิธิกวงเม้ง อำเภอแม่สาย ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. โดยการทดสอบและประกวดการฝึกครั้งนี้ ภ.จว.เชียงรายสั่งการให้ สภ.ทุกแห่งพิจารณาจัดนายตำรวจในปกครองเข้าร่วมสังเกตการณ์การประกวดการฝึกด้วยซึ่ง ผกก.สภ.พานมีคำสั่งให้ผมเข้าร่วม

การทดสอบและประกวดการฝึกในวันนี้ พล.ต.ต.บุญมี สมสุข รอง ผบช.ภ.๕ เดินทางมาเป็นประธาน เมื่อถึงเวลาได้ทำการฝึกตามลำดับ สภ.ดังนี้
๑. สภ.บุญเรือง
๒. สภ.เกาะช้าง
๓. สภ.แม่สาย

ท่าที่ใช้ในการประกวดการฝึกประกอบด้วย

ท่าบุคคลมือเปล่าอยู่กับที่
๑. ท่าเคารพ
๒. ท่าหมอบ - ท่าลุก

ท่าบุคคลมือเปล่าเคลื่อนที่
๑. ท่าเปลี่ยนเท้าในเวลาเดิน
๒. ท่าเดินเฉียงซ้าย,เฉียงขวา
๓. ท่ากลับหลังในเวลาวิ่ง

ท่าบุคคลประกอบอาวุธอยู่กับที่
๑. ท่าตรวจอาวุธ
๒. ท่าถอดหมวก-สวมหมวก
๓. ท่าบ่าขวาแบกอาวุธ
๔. ท่าวันทยาวุธ เรียบอาวุธ

ท่าบุคคลมือเปล่าประกอบอาวุธเคลื่อนที่
๑. ท่าซ้ายหันและขวาหันในเวลาวิ่งเมื่อเฉียงอาวุธ
๒. ท่าสวนสนามเมื่อมีผู้รับการเคารพ

ยุทธวิธีตำรวจในเมือง
๑. การใช้อาวุธปืนทางยุทธวิธี
๒. การเผชิญหน้า - คุ้มกัน
๓. การตรวจค้นบุคคล
๔. การจับกุม
๕. การใช้เครื่องพันธนาการ
๖. ระดับการใช้กำลัง
๗. การประเมินสถานการณ์
๘. การตั้งจุดตรวจ จุดสกัด
๙. การตรวจค้นยานพาหนะ
๑๐. การใช้ปืนสั้น
๑๑. การใช้ปืนยาว
โดยยุทธวิธีตำรวจในเมืองนี้กำหนดให้แต่ละ สภ.กำหนดสถานการณ์ฺขึ้นเองโดยให้มีหัวข้อตามที่กำหนด

การควบคุมฝูงชน
๑. การใช้ทัศนสัญญาณ
๒. การใช้กระบอง
๓. ท่าตี
๔. การแปรรูปขบวน (ขั้นต่ำ ๓ รูปขบวนและควรมีความหลากหลาย เช่น รูปขบวนหน้ากระดานหนุนตอนนอก,รูปขบวนลิ่ม,รูปขบวนบันได เป็นต้น)
ในส่วนของการใช้กำลังนั้นกำหนดให้ สภ.ที่มี ผกก.เป็นหัวหน้าให้มีการจัดกำลังขั้้นต่ำ ๑ หมวด ระดับ สวญ.และ สว.ให้พิจารณาจัดกำลังตามความเหมาะสม

กำหนดเวลา ใช้เวลา ๔๕ นาทีถึง ๑ ชั่วโมงต่อ ๑ หน่วย

ภาพประกอบ

<< สภ.บุญเรือง (๒๙ ภาพ) >>
<< สภ.เกาะช้าง (๖๕ ภาพ) >>
<< สภ.แม่สาย (๑๕๖ ภาพ >>

1 ความคิดเห็น:

  1. ก็ต้องขอบอกจากใจจริงว่า สภ.ทั้ง 3 แห่งนี่สมควรแล้วที่คณะกรรมการพิจารณาให้ชนะเลิศในการประกวดการฝึกประจำปีนี้ ดูแล้วเหมาะสมจริงๆ ครับ แล้วก็ขออนุญาตนำส่วนใดส่วนหนึ่งที่ยังขาดอยู่ไปใช้ัที่ สภ.พานด้วยนะครับ

    ตอบลบ