
เหมือนเดิมครับตามที่เคยสัญญา(อย่างน้อยก็กับตัวเอง)ว่าในวันหยุดผมจะสรรหาสิ่งละอันพันละน้อยที่เป็นเรื่องราวของตำรวจเรามาเล่าให้ฟัง (สำหรับวันปกติจะเป็นการบันทึกเรื่องราวการทำงานของผมเสียเป็นส่วนใหญ่) วันนี้วันหยุดเลยต้องทำตามสัญญาที่ให้ไว้ เอ้อ แล้วจะเขียนเรื่องอะไรดีล่ะ....เรื่องนั้นก็เขียนแล้ว เรื่องนี้ก็เขียนแล้ว คิดหนักอยู่เหมือนกัน แต่...ฮ่า..ได้การละเพราะก่อนที่จะนั่งปั่นต้นฉบับเนี่ยไปเปิด facebook ของตัวเองดู (http://facebook.com/supote.matcha) ว่ามีใครเขียนอะไรมาบ้าง รวมทั้งดูกระทู้หรือข้อคิดเห็นเก่าๆ ด้วย ดูไปดูมาโชคเข้าข้างนั่นก็คือทำให้คิดออกว่าวันนี้จะเขียนเรื่องอะไร ในกระทู้เก่านั้นมีนายตำรวจหญิงคนสวยน้องสาวผมเองนี่แหละเธอเป็นสารวัตรการเงินสังกัดอยู่ที่ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงรายเขียนทิ้งไว้เมื่อวันพุธแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล ร.ศ.๒๒๙ เพลาย่ำค่ำว่า "ช่วยหาว่าตำรวจหญิงเกิดมาจากไหนด้วยนะคะ เอาแบบว่าต้นกำเนิดค่ะ จำได้ว่าเป็นตำรวจหญิงรุ่นสองรองจากป้าศรีวรรณา (จำได้ก่)" นี่ เธอเขียนทิ้งไว้อย่างนี้ ผมก็เลยตอบทิ้งไว้ว่า "รับทราบ รับปฏิบัติครับ" เมื่อรับทราบแล้วมีหรือจะไม่รับปฏิบัติก็เลยเป็นที่มาของข้อเขียนวันนี้คือ "ตำรวจหญิงเริ่มมีขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไร"

ในราชกิจจานุเบกษาที่สืบค้นนั้นมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังนี้
พระราชบัญญัติยศตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๘๐ พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๕ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๔๘๑ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปกำหนดยศตำรวจตามลำดับดังนี้
สัญญาบัตร
นายพลตำรวจเอก
นายพลตำรวจโท
นายพลตำรวจตรี
นายพันตำรวจเอก
นายพันตำรวจโท
นายพันตำรวจตรี
นายร้อยตำรวจเอก
นายร้อยตำรวจโท
นายร้อยตำรวจตรี
ประทวน
นายดาบตำรวจ
จ่านายสิบตำรวจ
นายสิบตำรวจเอก
นายสิบตำรวจโท
นายสิบตำรวจตรี
ผมค้นคว้าต่อไปจนถึงที่นี่ครับ พระราชบัญญัติยศตำรวจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๕ พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตอนที่ ๕๒ เล่มที่ ๖๙ เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๔๙๕ แก้ไขเพิ่มเติมยศตำรวจซึ่งที่เพิ่มขึ้นมาก็คือยศ "นายพลตำรวจจัตวา" อีกยศหนึ่งเท่านั้น


ยังไม่หมดความพยายามเพราะ "ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น" ผมถือและใช้คำคำนี้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตมาตลอดก็เลยต้องค้นคว้าต่อไป เย้ ดีใจจังเลย จ๊ะเอ๋พอดี นั่นก็คือ พระราชบัญญัติยศตำรวจ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๔ พระราชบัญญัติฉบับนี้ประกาศเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๗๘ ตอนที่ ๙๖ ซึ่งมีผลให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปคือตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ กำหนดยศตำรวจไว้ในมาตรา ๔ ดังนี้
ชั้นสัญญาบัตร
ชั้นสัญญาบัตร
พลตำรวจเอก
พลตำรวจโท
พลตำรวจตรี
พลตำรวจจัตวา
พันตำรวจเอก
พันตำรวจโท
พันตำรวจตรี
ร้อยตำรวจเอก
ร้อยตำรวจโท
ร้อยตำรวจตรี
ชั้นประทวน
นายดาบตำรวจ
จ่าสิบตำรวจ
สิบตำรวจเอก
สิบตำรวจโท
สิบตำรวจตรี

สำหรับการจัดตั้งตำรวจหญิงขึ้นในกรมตำรวจจะมีเมื่อใดนั้นขณะนี้ผมยังค้นคว้าหาข้อมูลไม่ได้หากได้เมื่อไรจะเขียนเพิ่มเติมให้อ่านกันภายหลัง แต่จากกรณีที่การดำเนินการในเรื่องเหล่านี้จะต้องมีกฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง หรือระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องออกมารองรับเสียก่อนจึงจะมีผลใช้บังคับได้นั้น เมื่อพิจารณาจากพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้วผมจึงฟันธงว่า "ตำรวจหญิงของไทย" เริ่มมีอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติยศตำรวจ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๐๔ มีผลบังคับใช้เป็นต้นมา
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเขียนของผมในวันนี้คงจะเกิดประโยชน์ต่อท่านอยู่บ้างพอสมควรและต่อไปผมจะพยายามค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ ของตำรวจมาเล่าให้ฟังอีก อย่าลืมแวะเวียนเข้ามาติดตามอ่านกันนะครับพี่น้อง
รักตำรวจ เกลียดตำรวจ มีปัญหาอย่าลืมเรียกใช้ตำรวจนะครับ
สวัสดีครับผม
อ๋อเพิ่งรู้นะเนี้ย เหมือนกับเพลงของสุรพล สมบัติเจริญ มีอยู่
ตอบลบเพลงหนึ่ง ที่ว่า ..โน่นแนะจราจรหญิง .. แต่งตัวสวยพริ้งงามดี &&&..
เ้พิ่งรู้เหมือนกันคะ ขอบคุณมากเลยนะค่ะ
ตอบลบขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่นะครับ
ตอบลบจากตำรวจชาย
ขอขอบคุณค๊ะที่ให้ความรู้เรื่องนี้ เป็นตำรวจหญิงเองยังมะรู้นะเนี่ย
ตอบลบจากตำรวจหญิงเชียงรายเจ๊า
เป็นความรู้ใหม่จริง ๆ ว่า ตำรวจหญิงมีอย่างเป็นทางการตั้งแต่ วันที่ 23 พ.ย. 2504 ทั้ง ๆ ที่เป็นตำรวจมา 20 กว่าปีแล้ว ดีใจที่มีตำรวจสรรหาความรู้มาแบ่งปันกัน
ตอบลบ..ตำรวจหญิงเมืองลำปาง..
ประชาชนขอร้องมานะคุณช่วยบอกตำรวจจังหวัดพิษณุโลกให้หน่อยดิว่าทำไมไม่เปิดไฟแดง ส้ม เขียว เห็นมีแต่เสียทุกทีเลยจ้าเกิดอุบัตติเหตุกันบ่อยๆๆมากจ้า
ตอบลบตำรวจหญิงรุ่น พ.ศ.2504 รุ่นแรก มีตำรวจหญิงอีกรุ่นต่อมา คือ รุ่น 77คน พ.ศ.2517 (รุ่นมียศรุ่น2) รุ่นนี้ประจำที่กองบังคับตำรวจจราจรกลางตรีเพชรหลายคน ต่อมาก็มีออกมาอีกรุ่น ขณะยังทำงานในสถานีตำรวจนครบาลมากมาย...
ตอบลบ