วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

งานสืบสวนปราบปราม (๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓)

รายงานตัวกันอีกครั้้งหนึ่งนะครับสำหรับวันหยุดวันนี้ซึ่งผมก็ได้หยุดกับเขาด้วย แต่จะให้หยุดอยู่เฉยๆ ก็กระไรอยู่ตามประสาของคนอยู่ไม่ค่อยจะสุขนักถ้าไม่มีอะไรทำ ก็เลยต้องติดต่อประสานไปที่โรงพักบ้าง สอบถามการ ว๔ ว๑๐ (การปฏิบัติหน้าที่) ของสายตรวจบ้าง ได้ติดต่อและรับรู้เรื่ืองราวที่ทำแล้วก็สบายใจ วันนี้อำเภอพานเงียบเชียบเหมือนเดิม เหตุการณ์ทั่วไปสบายๆ พี่น้องอยู่กันอย่างเป็นสุข นี่แหละคือยอดปรารถนาของตำรวจไทยของเรา พวกเราจะตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อพี่น้องผองชนทุกท่าน เราขอสัญญา


สบา่ยใจเรื่องทำงานแล้วก็คิดต่อไปว่าเวลาว่างๆ แบบนี้จะหาอะไรมาเล่าให้พ่อแม่พี่น้องฟันกันอีกซีักเรื่องหนึ่งดีน้าาาา..คิืดไปคิดมาซักแป๊บหนึ่ง เหมือนเดิมครับ ผมก็ไปเปิดคอมพ์เพื่อดูเีรื่องราวหรือข้อมูลที่ผมเคยบันทึกและนำเสนอไว้ในโลกไซเบอร์ตามที่ต่างๆ ซึ่งมีเยอะแยะเลย (เฮ่อ เก่งนะเนี่ยเรา แน่ะ ชมตัวเองก็มีคนอะไร้) ดูไปดูมามีอยู่เรื่องหนึ่งซึ่งเหตุการณ์ใกล้เคียงกับวันนี้ของปีที่แล้วมากห่างกันเพียงแค่วันเดียวเท่านั้นนั่นก็คือเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ สำนักงานตำรวจแห่งชาติสั่้งยกเลิกงานสืบสวนปราบปรามที่เคยมีอยู่ชั่วระยะหนึ่งแล้วให้เจ้าหน้าที่สายงานนี้ไปปฏิบัติหน้าที่สายงานป้องกันปราบปรามแทนทั้งนายตำรวจและชั้นประทวน เลยคิดว่าน่าจะเอาเรื่องนี้นี่แหละมาเล่าให้ฟังกัน สำหรับการเล่านั้นผมขออนุญาต Copy ข้อเขียนที่เคยนำเสนอเมื่อครั้งที่แล้ว (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒) มาืัทั้งหมดซึ่งเรื่องราวเป็นแบบนี้ครับท่าน

ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งที่ ๑๓๒๙-๑๓๓๑/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒ แต่งตั้งข้าราชการตำรวจผู้ดำรงตำแหน่งสายงานสืบสวนปราบปรามไปปฏิบัติหน้าที่ในสายงานป้องกันปราบปราม ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป คำสั่งนี้ในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พานมีดังนี้

๑. พ.ต.ต.วินัด ถิ่นศรี ดำรงตำแหน่ง สวป.สภ.พาน
๒. เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวนสายงานสืบสวนปราบปราม
๑) ด.ต.ณรงค์เดช สันติวงศ์
๒) ด.ต.บุญศรี หลวงโย
๓) ด.ต.ประยูร สร้อยคำ
๔) ด.ต.มานิตย์ มีทรัพย์
๕) ด.ต.ยงยุทธ บุญโย
๖) ด.ต.สมบูรณ์ กันคำ
๗) จ.ส.ต.นิรันดร์ ใจปิน
๘) จ.ส.ต.พูลสวัสดิ์ นรรัตน์
๙) จ.ส.ต.ร่วม แก้วหล้า
ดำรงตำแหน่ง ผบ.หมู่ (ผู้บังคับหมู่) งานป้องกันปราบปราม สภ.พาน

สำหรับรายละเอียดทั้งหมดของคำสั่งนี้ท่านสามารถคลิกดูได้ที่นี่

เนื่องจาก ณ เวลานี้สายงานสืบสวนปราบปรามนั้นเหลือเพียงตำนานว่าครั้งหนึ่งเคยเป็นสายงานหนึ่งในการปฏิบัติงานของตำรวจเราซึ่งจะไม่มีอีกแล้ว ดังนั้นจึงขอนำข้อมูลหรือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเสนอให้ทราบดังนี้

สายงานสืบสวนปราบปรามนั้นเป็นไปตามโครงการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งกำหนดให้งานสืบสวนปราบปรามเป็น ใน ๕ ลักษณะงานของสถานีตำรวจซึ่งกำหนดรูปแบบโครงสร้างไว้ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ ๖๕๕/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๐ มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน หาข่าว ปฏิบัติงานในด้านการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมซึ่งเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติต่างๆ ที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับ การติดตามจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับต่างๆ ตลอดจนองค์กรหรือเครือข่ายที่อยู่เบื้อหลัง รวมทั้งงานอื่นที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดละเมิดกฎหมายและสร้างอิทธิพลขึ้นภายในเขตอำนาจรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครองของสถานีตำรวจ รวมทั้งการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลและพัฒนางานดังกล่าว โดยจำแนกเป็นงานต่างๆดังนี้

สืบสวนปราบปรามการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับ
สืบสวนปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและทรัพยากรธรรมชาติ
สืบสวนปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์
สืบสวนปราบปรามผู้มีอิทธิพลและมือปืนรับจ้าง
สืบสวนปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง
สืบสวนปราบปรามการโจรกรรมสินค้าทางน้ำ
สืบสวนปราบปรามการละเมิดสินค้าทางน้ำ
สืบสวนปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
งานพิทักษ์เด็ก
เยาวชนและสตรี
สืบสวนปราบปรามผู้มีอิทธิพลเกี่ยวกับบ่อนการพนัน สถานบริการ และแหล่งอบายมุข
สืบสวนปราบปรามผู้มีอิทธิพลในการฮั้วประมูลและขัดขวางการเสนอแข่งขันราคาในการประมูลงานทางราชการ
สืบสวนปราบปรามและติดตามจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับในคดีค้างเก่าต่างๆ

งานตามกฎหมายว่าด้วยการจำหน่ายสุรา สถานบริการ โรงแรม ภาพยนต์ โรงรับจำนำ อาวุธปืน การพนัน การขายทอดตลาดและค้าของเก่า การเรี่ยไร กิจการเทปวัสดุโทรทัศน์ รวมทั้งงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายบัญญัติอำนาจไว้
งานพัฒนากำลังพล งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี เพื่อใช้ในการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรม
รายงานการข่าวและระบบข้อมูลอาชญากรรม
วางระบบการงบประมาณที่เกี่ยวกับงานสืบสวนปราบปรามอาชญากรรม
ตรวจสอบติดตามและประเมินผล วิจัยและพัฒนาการปฎิบัติตามนโยบาย ยุทธศาสตร์แผนงานและโครงการต่างๆ
กรณีมีการกระทำความผิดให้พิจารณาสั่งการให้ผู้ปฎิบัติงานสืบสวนปราบปรามดำเนินการจับกุมหรือดำเนินการจับกุมด้วยตนเอง
งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับงานสืบสวนปราบปราม
งานอื่นๆที่ผู้บังคับบัญชาได้มอบหมาย

สายงานนี้มีสารวัตรสืบสวนปราบปราม (สว.สป.) เป็นหัวหน้า รองสารวัตรสืบสวนปราบปราม และผู้บังคับหมู่เป็นผู้ช่วย โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของรองผู้กำกับการป้องกันและปราบปราม สำหรับตำแหน่งต่างๆ ของงานสืบสวนปราบปรามมีดังนี้
๑) หัวหน้างานสืบสวนปราบปราม มีหน้าที่รับผิดชอบบริหาร จัดการ ปฏิบัติภารกิจงานสืบสวนปราบปรามและงานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
๒) ผู้ปฏิบัติงานสืบสวนปราบปราม มีหน้าที่ช่วยเหลือหัวหน้างานสืบสวนปราบปรามปฏิบัติงานสืบสวนปราบปรามและงานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย โดยมีหน้าที่ดังนี้
๒.๑
รองสารวัตร ทำหน้าที่สืบสวนปราบปราม
๒.๒ ผู้บังคับหมู่ ทำหน้าที่ธุรการ เสมียนประจำวัน สถิติและทะเบียน เทคโนโลยีสารสนเทศ สืบสวนปราบปราม ฯลฯ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติำกำหนดให้มีสายงานนี้ขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ซึ่งในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้(เคย)ดำรงตำแหน่งสายงานนี้ของ สภ.พานมีดังนี้
๑. สารวัตรสืิบสวนปราบปราม (คนแรกและคนสุดท้าย) คือ พ.ต.ต.วินัด ถิ่นศรี ตามคำสั่งตำรวจภูธรภาค ๕ ที่ ๓๓๙/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๐

๒. เจ้าหน้าที่สายงานสืบสวนปราบปรามปรากฏตามคำสั่งตำรวจภูธรจังหวัดเชียงรายที่ ๒๒๗๐/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๐


เพิ่มเติม
ข้อมูลต่อไปนี้นำมาจากสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ ที่เกี่ยวกับการยกเลิกงานสืบสวนปราบปรามเพื่อเป็นความรู้ความเข้าใจในส่วนที่เกี่ยวข้อง

สตช.จ่อยุบ สว.สป. จับย้ายนั่ง สว.ป.-สว.สส.

วันนี้ (๒๗ มิ.ย.๒๕๕๒) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อเวลา ๑๑.๐๐ น. พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ได้เรียกประชุมบริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีรองผบ.ตร. และผู้ช่วยผบ.ตร. ร่วมประชุม โดยใช้เวลาการประชุมประมาณ ชั่วโมง

พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวภายหลังการประชุมว่าวันนี้เป็นการประชุมบริหารทั่วไปยังไม่มีการมอบนโยบายอะไรเป็นพิเศษ มีการพูดคุยกันเรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง สว.สป.ของแต่ละโรงพักหลังจากที่ ก.ต.ช.ได้ปรับเปลี่ยนหน้างาน ตร.ออกเป็น หน้างานตัดงาน สป.ออกไป ซึ่งในที่ประชุมพิจารณาเห็นควร ยุบตำแหน่ง สว.สป.ไป และให้ปรับให้ สว.สป.มาเป็น สว.ป. หรือสว.สส. ทำให้แต่ละโรงพักอาจต้องมี สวป. คนหรือ สว.สส. คน ซึ่งดูตามภาระงานของแต่ละโรงพักว่าสมควรปรับเปลี่ยนเป็นตำแหน่งไหน ซึ่งเรื่องนี้ได้ให้ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจไปดูข้อมูลทั้งหมดเพื่อพิจารณาดำเนินการอีกครั้ง.

พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติระบุว่าการปรับโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะช่วยสร้างฝ่ายอำนวยการที่เข้มแข็ง สอดรับการกระจายอำนาจเพื่อตอบสนองการแก้ปัญหาอาชญากรรมและความมั่นคง โดยหน่วยงานสำคัญที่จัดตั้งใหม่และยกฐานะ อาทิ กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน เพื่อให้สอดรับกับพระราชบัญญัติชุมนุมสาธารณะ อันจะช่วยกำหนดกรอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้ดำเนินการกับผู้ชุมนุมให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดทางเทคโนโลยีที่จะดำเนินการกับผู้กระทำผิดทางเทคโนโลยีที่นับวันจะมีการพัฒนามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าการดำเนินการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายใน ๙๐ วัน ก่อนดำเนินการปรับย้าย พร้อมระบุว่าการปรับโครงสร้างครั้งนี้จะนำข้าราชการตำรวจในตำแหน่งประจำมาปรับเกลี่ยตำแหน่ง ลงในหน่วยงานที่จะเกิดขึ้นใหม่

ส่วนระดับสถานีตำรวจจะมีการยุบตำแหน่งสารวัตรสืบสวนปราบปราม (สว.สป.) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เกิดขึ้นใหม่ในยุค พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกลับมาเป็นตำแหน่งสารวัตรปราบปราม (สวป.) และสารวัตรสืบสวนสอบสวน (สว.สส.) ตามเดิม พร้อมปรับเกลี่ยไปตามสถานีตำรวจต่างๆ โดยเฉพาะสถานีที่มีงานมาก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหาหลักเกณฑ์ในการปรับย้ายอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหาในภายหลัง

และแล้ววันนั้นก็มาถึง

เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มีบันทึกด่วนที่สุด ที่ ๐๐๐๔.๒๕/๐๔๑๕๖ ถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑-๙ (ผบช.ภ.๑-๙) และผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผบช.ศชต.) เรื่อง การแต่งตั้งตำรวจ ตามมติอนุกรรมการข้าราชการตำรวจ (อ.ก.ตร.) บริหารงานบุคคล ได้อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงการกำหนดตำแหน่งในงานสืบสวนปราบปราม (สว.สป.) สถานีตำรวจเป็นสารวัตรงานป้องกันปราบปราม (สวป.) และสารวัตรงานสืบสวน (สว.สส.) นั้น เพื่อให้การแต่งตั้ง สว.สป. ไปเป็น สวป.และ สว.สส.เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้ทุกหน่วยดำเนินการแต่งตั้ง สว.สป.ให้ดำรงตำแหน่ง สวป.หรือ สว.สส. โดยให้ สว.สป.ไปดำรงตำแหน่งตามเลขตำแหน่งที่ถูกตัดโอนภายในหน่วยและข้ามหน่วย

"กรณี สว.สป.ที่ตำแหน่งถูกตัดโอนข้ามหน่วย (บช.ภ.๓-๙) แต่ไม่สมัครใจขอรับการแต่งตั้งข้ามหน่วยและมี สว.สป.ที่สมัครใจขอรับการแต่งตั้งข้ามหน่วยแทน ให้หน่วยพิจารณาแต่งตั้ง สว.สป.ที่ไม่สมัครใจดังกล่าวไปดำรงตำแหน่งแทน สว.สป.ที่สมัครใจขอรับการแต่งตั้งข้ามหน่วย ส่วน สว.สป.ที่สมัครใจขอรับการแต่งตั้งข้ามหน่วยแทนให้ส่งรายชื่อให้หน่วยที่เกี่ยวข้องออกคำสั่งแต่งตั้งลงในตำแหน่งแทน สว.สป.ที่ไม่สมัครใจต่อไป และหากมี สว.สป.สมัครใจขอรับการแต่งตั้งข้ามหน่วยมากกว่าหรือน้อยกว่าจำนวนตำแหน่งที่ถูกตัดโอน ให้หน่วยพิจารณา สว.สป.ให้ครบตามจำนวนตำแหน่งที่ถูกตัดโอน" บันทึกระบุ

บันทึกดังกล่าวระบุอีกว่า การแต่งตั้ง รอง สว.สป.และ ผบ.หมู่ งาน สป.ให้แต่ละหน่วยพิจารณาแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งในงานป้องกันปราบปรามหรืองานสืบสวนที่ว่างใน สน.หรือ สภ.ที่ใกล้เคียงภายใน บก.หรือ ภ.จว.เดียวกัน หากยังมีตำแหน่งไม่เพียงพออีกให้แต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งใน สน.หรือ สภ.ใน บก.หรือ ภ.จว.ใกล้เคียงให้มากที่สุด โดยให้ทุกหน่วยมีคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจทั้งสองส่วนในวันที่ กรกฎาคม และให้มีผลใช้บังคับในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒

สายงานนี้เริ่มกำหนดขึ้นในหน่วยงานของสำนักงานตำรวจตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๐ จนถึงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ดังนั้นจึงมีอายุเพียง ๑ ปี ๑๐ เดือน ๑๕ วัน


ลาก่อนงานสืบสวนปราบปราม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น