วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อธิบดีกรมตำรวจภูรและกรมตระเวนคนแรกคือใคร (๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓)

สวัสดีครับ พ.ต.ท.สุพจน์ มัจฉา รายงานตัวครับผม

วันนี้วันเสาร์ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ปีขาล มหาศักราช ๑๙๓๒ ตรงกับวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พุทธปรินิพพานล่วงแล้ว ๒๕๕๓ ปี วันหยุดสำหรับใครหลายๆ คน ก็ขอให้มีความสุขสนุกสนานรื่นเริงเบิกบานฤทัยในวันหยุดนี้โดยทั่วกันนะขอรับ

เมื่อวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ปีขาลที่ผ่านมาผมนำเสนอสาระน่ารู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของตำรวจไทยเราให้ทราบแล้วว่าเป็นมาอย่างไร วันนี้ก็ขอเขียนต่อยอดอีกสักหน่อยนั่นก็คือใครคืออธิบดีกรมตำรวจคนแรกรวมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องในการแต่งตั้ง น่าสนใจนะครับผมว่า (คนเดียวก็ได้ (ฮา))

แต่ก่อนจะถึงจุดนั้นผมขอนำรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัตยุบันนี้ว่ามีใครบ้างมาเสนอก่อนครับ

รายนามอธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยมีดังนี้

กองโปลิศ / กรมกองตระเวน
(พ.ศ. 2403 - พ.ศ. 2458)
ลำดับรายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระหมายเหตุ
1หลวงรัถยาภิบาลบัญชา
(กัปตัน เอส.เย.เอมส์)
พ.ศ. 2403พ.ศ. 2435
2พระยาอรรคราชวราทร
(ภัสดา บุรณศิริ)
พ.ศ. 2435พ.ศ. 2440
3นายเอ.เย.ยาดินพ.ศ. 2440พ.ศ. 2447
4มหาอำมาตย์โท อีริกเซ็นต์ เย ลอสันพ.ศ. 2447พ.ศ. 2456
5พลตรี พระยาวาสุเทพพ.ศ. 2456พ.ศ. 2458
กรมตำรวจ
(พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2541)
ลำดับรายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระหมายเหตุ
6พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบพ.ศ. 2458พ.ศ. 2472
7พลตำรวจโท พระยาอธิกรณ์ประกาศ
(หลุย จาติกวณิช)
พ.ศ. 2472 พ.ศ. 2475
8พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ
(รวย พรหโมบล)
พ.ศ. 2475พ.ศ. 2476
9พันตำรวจเอก พระยาอนุสสรธุระการ
(จ่าง วัจนะพุกกะ)
พ.ศ. 2476พ.ศ. 2479
10พลตำรวจเอก หลวงอดุลเดชจรัส
(อดุล อดุลเดชจรัส)
พ.ศ. 2479พ.ศ. 2488
11พลตำรวจโท พระรามอินทรา
(ดวง จุลัยยานนท์)
พ.ศ. 2488พ.ศ. 2489
12พลตำรวจตรี พระพิจารณ์พลกิจ
(ยู่เซ็ก ดุละลัมพะ)
พ.ศ. 2489พ.ศ. 2490
13พลตำรวจเอก หลวงชาติตระการโกศล
(เจียม ลิมปิชาติ)
พ.ศ. 2490พ.ศ. 2494
14พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์พ.ศ. 2494พ.ศ. 2500
15พลตำรวจเอกไสว ไสวแสนยากรพ.ศ. 2500พ.ศ. 2502
16จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์พ.ศ. 2502พ.ศ. 2506
17พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์พ.ศ. 2506พ.ศ. 2515
18จอมพลประภาส จารุเสถียรพ.ศ. 2515พ.ศ. 2516
19พลตำรวจเอกประจวบ สุนทรางกูรพ.ศ. 2516พ.ศ. 2517
20พลตำรวจเอกพจน์ เภกะนันทน์พ.ศ. 2517พ.ศ. 2518
21พลตำรวจเอกศรีสุข มหินทรเทพพ.ศ. 2518พ.ศ. 2518
22พลตำรวจเอกมนต์ชัย พันธุ์คงชื่นพ.ศ. 2519พ.ศ. 2524
23พลตำรวจเอกสุรพล จุลละพราหมณ์พ.ศ. 2524พ.ศ. 2525
24พลตำรวจเอกณรงค์ มหานนท์พ.ศ. 2525พ.ศ. 2530
25พลตำรวจเอกเภา สารสินพ.ศ. 2530พ.ศ. 2532
26พลตำรวจเอกแสวง ธีระสวัสดิ์พ.ศ. 2532พ.ศ. 2534
27พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมรวิวัฒน์พ.ศ. 2534พ.ศ. 2536
28พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพพ.ศ. 2536พ.ศ. 2537
29พลตำรวจเอกพจน์ บุณยะจินดาพ.ศ. 2537พ.ศ. 2539
30พลตำรวจเอกประชา พรหมนอกพ.ศ. 253916 ตุลาคม พ.ศ. 2541
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน)
ลำดับรายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระหมายเหตุ
-พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก16 ตุลาคม พ.ศ. 254130 กันยายน พ.ศ. 2543
31พลตำรวจเอกพรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์1 ตุลาคม พ.ศ. 254330 กันยายน พ.ศ. 2544
32พลตำรวจเอกสันต์ ศรุตานนท์1 ตุลาคม พ.ศ. 254430 กันยายน พ.ศ. 2547ช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรีจนเกษียณอายุราชการ
(22 มีนาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547)
-พลตำรวจเอกสุนทร ซ้ายขวัญ22 มีนาคม พ.ศ. 254730 กันยายน พ.ศ. 2547รักษาราชการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
34พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ1 ตุลาคม พ.ศ. 254722 เมษายน พ.ศ. 2550*ช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรีจนพ้นจากตำแหน่ง
(5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 - 22 เมษายน พ.ศ. 2550)
*ภายหลังศาลปกครองพิจารณาว่าท่านอยู่ในตำแหน่งจนเกษียณอายุราชการ ในวันที่30 กันยายน พ.ศ. 2550
35พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส1 ตุลาคม พ.ศ. 25508 เมษายน พ.ศ. 2551รักษาราชการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550)
ช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรีจนพ้นจากตำแหน่ง
(29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 8 เมษายน พ.ศ. 2551)
36 ลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ8 เมษายน พ.ศ. 255130 กันยายน พ.ศ. 2552รักษาราชการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 8 เมษายน พ.ศ. 2551)
ช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
(28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
ลาพักร้อน
(4 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552)
ช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรีจนเกษียณอายุราชการ
(9 กันยายน พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552)
-พลตำรวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี4 สิงหาคม พ.ศ. 255210 สิงหาคม พ.ศ. 2552รักษาราชการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(4 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552)
-พลตำรวจเอกธานี สมบูรณ์ทรัพย์9 กันยายน พ.ศ. 255230 กันยายน พ.ศ. 2552รักษาราชการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(9 กันยายน พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552)
-พลตำรวจเอกปทีป ตันประเสริฐ28 พฤศจิกายน พ.ศ. 255121 ธันวาคม พ.ศ. 2551รักษาราชการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
วาระแรก (28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
วาระที่ 2 (1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน)
1 ตุลาคม พ.ศ. 2552ปัจจุบัน

นั่นคือผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัตยุบันซึ่งหลายๆ ท่านคงจะผ่านตาในที่ต่างๆ มาบ้างแล้วเพราะมีผู้นำมาเสนออยู่บ้างพอสมควร

เอ้า...แล้วยังไง??? ไม่เห็นแปลกเลยเพราะใครๆ เขาก็รู้แล้วว่ารายนามผู้บังคับบัญชาสูงสุดของตำรวจแต่ละยุคแต่ละช่วงเป็นแบบนี้ยัง(มีหน้า)มาบอกว่าขอนำเสนอว่าใครคืิออธิบดีกรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวนคนแรกอีก เฮ้อ ไม่บ้าก็เมามั้ง...นี่ ผมว่าหลายคนคงจะคิดแบบนี้แน่นอน แต่...แต่ช้าแต่...เคยดูหนังไทยยุคก่อนๆ ไหมครับ เอารุ่นมิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ที่โด่งดังสมัยผมเป็นเด็กก็ได้ จำได้ไหมเอ่ย ใครออกมาตอนหนังใกล้จบ....ถูกต้องครับ..ถูกต้อง.."ตำรวจ" นั่นเอง จะออกมาตอนนั้น แบบว่ามาช่วยพระเอก นางเอกหรือใครซักคนนั่นแหละ เนี่ยะ จุดนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมอยากเป็นตำรวจมาตั้งแต่เด็กๆ จะได้ช่วยเหลือคนที่ถูกรังแกหรือถูกกลั่นแกล้ง และแล้วต่อมาก็ได้เป็นตำรวจสมใจนึก อีกอย่างหนึี่งก็คือวงดนตรีลูกทุ่งที่ใครน้าาาา..ออกมาช่วงท้ายๆ แน่นอน ต้องหัวหน้าวง แหม!! ทุกคนรอคอยกันจังช่วงนั้น สุรพล สมบัติเจริญ ก้าน แก้วสุพรรณ ทูล ทองใจ ฯลฯ ออกมาตอนท้ายๆ ทั้งนั้น (เฮ้อ พูด(เขียน)แบบนี้รู้สึกว่าตัวเองหนุ่ม(เหลือน้อย)จังเลยนะเนี่ย) ก็แบบนี้นี่เองที่ทำให้ผมต้องปิดท้ายข้อเขียนวันนี้ด้วยเรื่องลักษณะเฉกเช่นเดียวกันนั่้นก็คือตอนนีู้ท่านๆ ทั้งหลายรู้แล้วว่าอธิบดีกรมตำรวจคนแรกของไทยคือพลโทพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ แต่...หลักฐานเรื่องนี้อยู่ไหน???? หลายคนอาจจะยังไม่รู้ ไม่เป็นไรครับผมจะเฉลยให้ทราบตอนนี้จะได้กระจ่างแจ่มแจ้งแดงแจ๋กันไปเลย

หลักฐานในการแต่งตั้งอธิบดีกรมตำรวจคนแรกของไทย แน่นอนครับต้องเป็นเอกสารทางราชการถึงจะยืนยันได้อย่างแม่นเหมาะ แล้วจะหาที่ไหนล่ะ แหม!! จะที่ไหนซะอีกล่ะ "ราชกิจจานุเบกษา" ครับผม ผมก็หามาจากที่นี่นั่นแล การแต่งตั้งอธิบดีกรมตำรวจท่านนี้ประกาศในราชกิจจาฯเล่ม ๓๒ น่า ๓๕๐ เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๕๘ ดังนี้ (ขออนุญาตลอกและใช้ข้อความดั่งปรากฏในราชกิจจานุเบกษานะครับ)

ประกาศตั้งอธิบดีกรมตำรวจภูธรแลกรมพลตระเวน

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ตามประกาศรวมกรมตำรวจภูธรแลกรมพลตระเวนให้มีอธิบดีบังคับบัญชางานทั้ง ๒ ฝ่ายแต่ฝ่ายเดียวนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลโท หม่อเจ้าคำรบ อธิบดีกรมตำรวจภูธรเปนอธิบดีกรมตำรวจภูธรแลกรมพลตระเวน แลโปรดเกล้าฯ ให้มหาอำมาตย์โทอิริกเซนต์ เย. ลอสัน อธิบดีกรมพลตระเวน แลมหาอำมาตย์ตรี อี ดับลยู ตรอตเตอร์ รองอธิบดี เปนที่ปฤกษาราชการในกรมตำรวจภูธรแลกรมพลตระเวนตั้งแต่บัดนี้ไป

ประกาศมา ณ วันที่ ๒๑ ตุลาคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๘ เปนวันที่ ๑๘๐๖ ในรัชกาลปัตยุบันนี้

(ข้อมูลในราชกิจจานุเบกษาเรื่องนี้กรุณาคลิกที่นี่)

ครับ นี่ก็คือที่มาที่ไปรวมถึงหลักฐานของเรื่อง "อธิบดีกรมตำรวจภูธรและกรมตระเวนคนแรกของไทย" ที่ผมนำมาเสนอให้ทราบกันในวันนี้ซึ่งหวังว่าคงจะเกิดประโยชน์ต่อท่านอยู่บ้างตามสมควร

รักตำรวจ เกลียดตำรวจ มีปัญหาอย่าลืมเรียกใช้ตำรวจนะครับ

สวัสดีครับผม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น